วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานพิเศษ 2 องค์กรมรดกโลก

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
          มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศโดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตา

มรดกโลก มรดกไทย


1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
3.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
5.ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ

เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ประเด็นไทยถอนตัวจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดกโลก


ภายหลังคณะผู้แทนไทยในการประชุมกรรมการมรดกโลก ประกาศถอนตัวจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดโลก หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ยืนยันว่า การตัดสินใจครั้งนี้ จะทำให้ไทยสามารถปกป้องอำนาจอธิปไตยบริเวณพื้นที่พิพาทเขาพระวิหาร
คิดว่าคงมีคนไทยมากมายหลายล้านคนที่ดูข่าวเรื่องการประชุมภาคีมรดกโลกที่ฝรั่งเศส ในวันที่ 26 มิ.ย. 54 และทางรัฐบาลไทยโดยนายสุวิทย์  คุณกิตติ ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมดังกล่าวและหลังจากนั้นล่าสุดได้ออกมาเปิดเผยว่าได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคีฯ ทำให้มีคำถามมากมายว่างานนี้ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด ข้อเท็จจริงของที่มาที่ไปของเรื่องนี้มันเป็นยังไง ? ประเด็นเรื่องราวที่กำกวมซ้อนทับ ลับ ลวง พราง เช่นนี้ได้มีข้อเขียนของแม่ลูกจันทร์ ที่อ่านแล้วพอเข้าใจจึงขอหยิบยกมาให้อ่านเพราะมีที่มาที่ไปดังนี้ครับ
ปัญหา พิพาทเขตแดน เขมร-ไทย กลายเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เมื่อรัฐบาลกัมพูชาของนายกฯฮุน เซน ยื่นเรื่องร้องเรียนไปถึงยูเอ็นว่าถูกประเทศไทยบุกรุ กคุกคามอธิปไตยล่าสุด คณะมนตรีความมั่นคงซึ่งมี 5 ชาติพี่เบิ้ม อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน เป็นหัวขบวน ก็เตรียมประชุมฉุกเฉินเพื่อสอบสวนเรื่องนี้โดยเร็ว!! นี่คือลีลาการทูตของกัมพูชาที่ต้องการ ดึงองค์กรระหว่างประเทศให้เข้ามาช่วยกดดันประเทศไทยสร้างภาพให้กัมพูชาเป็นฝ่ายถูกข่มเหงรังแกป้ายขี้ให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ร้ายในเวทีโลกไปเต็มๆ !!
แค่นี้ยังไม่พอ ยังเตรียมยื่นฟ้องศาล โลกให้ตัดสินปัญหาเขตพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหา ร 4.6 ตร.กม. ว่าอยู่ในเขต แดนกัมพูชา? หรือเป็นดินแดนของไทย?โดยใช้คำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 ที่ตัดสินให้เขมรชนะคดีปราสาทพระวิหารเป็นหลักฐานสำค ัญแสบริดสีดวงทวารมั้ยล่ะพวกเรา??
ถามว่า ไทยมีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ ต่อศาลโลกว่าพื้นที่รอบเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม.อยู่ในเขตแดนของไทย??
หลักฐานสำคัญก็คือ แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ นพดล ปัทมะอดีต รมว. ต่างประเทศ ไปลงนามที่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้มีข้อความระบุชัดเจนว่า กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก 
เฉพาะตัวปราสาทอย่างเดียว โดยไม่ ล่วงล้ำดินแดนไทยและไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายยัง ไม่ได้จัดทำหลักเขตแดนอย่างเป็นทางการ
นี่คือหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่าพื้นที่รอบปราสาทพระว ิหาร ไม่ได้เป็นของเขมรแน่นอน!!เพราะถ้าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. อยู่ใน เขตกัมพูชาจริง กัมพูชาคงไม่ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะแค่ตัวปราสาทอ ย่างเดียวแต่ต้องรวมพื้นที่รอบตัวปราสาททั้งกระบิขึ้นเป็นมรดก โลกพร้อมกัน!!
น่าเสียดาย ที่แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับนี้ ต้องเป็น โมฆะไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
ก็เท่ากับไทยสูญเสียหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะใช้สู้คดีและถ้าหากประวัติศาสตร์ซํ้ารอย ไทยต้องเสียดินแดนแถมให้เขมรอีก 4.6 ตร.กม.ฟรีๆจะเจ็บปวดแค่ไหนโปรดใช้สะดือตรอง??  ความจริง
ปัญหาเขาพระวิหารอาจไม่ บานปลาย ถ้าไม่ถูกเอาไปขยายผลเป็นประเด็นการเมืองแต่เมื่อประเด็นปราสาทพระวิหารกลาย เป็นปัญหาระดับอินเตอร์ ไทยกับกัมพูชาในฐานะคู่กรณีก็ต้องสู้กันยิบตา
ล่าสุด กัมพูชาพลิกลิ้นไม่ยอมรับว่าบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม. เป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทยโกหกหน้าด้านๆ ว่าพื้นที่ตรงนี้ เป็นของเขมรฝ่ายเดียว!!แม่ลูกจันทร์เป็นห่วงว่าเมื่อต้องสู้กันเรื่องเขตแดนทีไร ไทยมักเสียเหลี่ยมเขมรทุกทีเพราะเขมรอ้างแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม แต่ไทยอ้างแผนที่แอล 7017 ของ อเมริกาในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ฉบับล่าสุด พ.ศ. 2543 ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ได้ระบุว่าการจัดทำหลักเขตแดนให้ยึดตามแผนที่ฝรั่งเศ ส-สยาม (คศ.1904) เป็นแนวทางแต่ไม่ได้ระบุแผนที่แอล 7017 ของอเมริกาที่ไทยใช้อ้างอิง!!ก็เท่ากับเราไปยอมรับแผนที่ฝรั่งเศสของเขมรฝ่ายเดียวถ้าเป็นอย่างนี้ ไทยก็เสียเปรียบเขมรตามเคย.

งานพิเศษ 1 รายงานผลการเลือกตั้ง 3 กค 2554

พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งกี่คน แบบบัญชีรายชื่อแบบบัญชีรายชื่อกี่คน  รวมได้สส.กี่คน
                เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 เวลา 16.00 น. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง แถลงสรุปข้อมูลผลการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 อย่างเป็นทางการว่า การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,203,107 คน คิดเป็นร้อยละ 75.03 จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน มีบัตรเสีย 1,726,051 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.9 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนมี 958,052 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.72 สำหรับการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,119,885 คน คิดเป็นร้อยละ 74.85 มีบัตรเสีย 2,039,694 บัตร คิดเป็นร้อยละ 5.79 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,088 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.03 ส่วนบัตรเสียในการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ครั้งนี้ เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2550 พบว่ามีจำนวนลดลง โดยปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 5.56 และบัตรเสียการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต เมื่อเทียบกับปี 2550 พบว่ามีจำนวนมากขึ้น ซึ่งปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.56 
     ส่วนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบแบ่งเขตเมื่อเทียบกับปี 2550 ถือว่าลดลง เพราะปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 4.58 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อเมื่อเทียบกับปี 2550 ถือว่าลดลงเช่นกัน โดยปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 2.85 ส่วนจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 88.61 รองลงมาคือ จังหวัดเชียงใหม่ร้อยละ 83.13 และ จังหวัดตรังร้อยละ 82.65 
     สำหรับพรรคที่มีผู้สมัครได้การเลือกตั้งดังนี้ พรรคเพื่อไทย 265 คน แบ่งเป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 61 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 204 คน, พรรคประชาธิปัตย์ 159 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 115 คน, พรรคภูมิใจไทย 34 คน แบ่งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 29 คน, พรรคชาติไทยพัฒนา 19 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 15 คน, พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 5 คน, พรรคพลังชล 7 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 6 คน, พรรครักประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน, พรรคมาตุภูมิ 2 คน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 1 คน, และพรรครักษ์สันติ พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้รับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคละ 1 คน
    ดร.สุทธิพล กล่าวว่า หากไม่มีการร้องเรียน กกต.สามารถประกาศรับรอง ส.ส.ได้ภายใน 7 วัน ทำการนับแต่วันเลือกตั้ง คือวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ซึ่งจะเสนอให้ กกต.พิจารณารับรอง แต่ถ้ามีเรื่องร้องคัดค้าน กกต.จะสืบสวนสอบสวนให้เสร็จภายใน 30 วัน คือ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 จากนั้น กกต.จะให้การรับรอง ส.ส.ไปก่อน แต่การสืบสวนสอบสวนยังดำเนินการต่อไป ขณะนี้มีการคัดค้านทั้งผู้สมัครส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งและไม่ได้รับการเลือกตั้ง 207 เรื่อง



   พรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วยกี่พรรค  แต่ละพรรคมีสส.กี่คน รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมีสส.กี่คน  
พรรคร่วมรัฐบาลมี 6 พรรค
   
เพื่อไทยได้ 262 คน
   
ชาติไทยพัฒนาได้ 19 คน
    
ชาติพัฒนาแผ่นดินได้ 9 คน
   
พลังชลได้ 7 คน
    
มหาชนได้ 1 คน
   
ประชาธิปไตยใหม่ได้ 1 คน
   
รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมีสส. 300 คน


พรรคการเมืองฝ่ายค้านประกอบด้วยกี่พรรค แต่ละพรรคมีสส.กี่คน รวมฝ่ายค้านทั้งสิ้นกี่คน
มีพรรคฝ่ายค้านมี 5 พรรค
     
ประชาธิปปัตย์ได้ 160 คน
     
ภูมิใจไทยได้ 34 คน
     
รักประเทศไทยได้ 4 คน 
     
มาตุภูมิได้ 2 คน
     
รักสันติได้ 1 คน
  
รวมฝ่ายค้านทั้งหมด 200 คน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แบ่งการบริหารราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ
         ๑. การบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอำนาจ คือให้อำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการขั้นสูงสุดอยู่ในส่วนกลาง โดยแบ่งหน่วยงานออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม [รวมทั้งหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม เช่น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ] หน่วยงานเหล่านี้ปรกติจะตั้งอยู่ในส่วนกลาง คือกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
          ปัจจุบันการบริหารราชการส่วนกลาง มีดังนี้
  ระดับกระทรวง มี ๑๔ กระทรวง (รวมสำนักนายกรัฐมนตรี)
  ระดับทบวง  มี ๑ ทบวง
  ระดับกรม  มี ๑๓๖ กรม (ไม่รวมกรมต่าง ๆ ในกระทรวงกลาโหม และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากรม)

          ๒. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอำนาจ คือราชการส่วนกลางเป็นเจ้าของอำนาจ แล้วแบ่งอำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการให้แก่ภูมิภาคนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เป็นการลดขั้นตอนต่าง ๆ ลง และการปฏิบัติของภูมิภาคนั้นจะต้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของส่วนกลางหรือของรัฐบาลหรือตัวบทกฎหมายของประเทศ
          อนึ่ง อำนาจที่แบ่งให้นั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพอใจของส่วนกลาง และส่วนกลางแต่ละหน่วยก็แบ่งให้อาจไม่เท่ากัน เช่น บางกรมแบ่งการบริหารงานบุคคลให้ส่วนภูมิภาคแต่งตั้งโยกย้ายได้ตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๖ ลงมา บางกรมให้ตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา
          อำนาจที่แบ่งให้ไปนั้น ราชการบริหารส่วนกลางอาจจะเรียกกลับคืนเมื่อใดก็ได้
          การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มี ๕ ระดับ คือ

          ๑. จังหวัด
          ๒. อำเภอ
          ๓. กิ่งอำเภอ
          ๔. ตำบล
          ๕. หมู่บ้าน

          กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคโดยอนุโลม ทั้งนี้ก็เพราะในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้กำหนดการบริหารส่วนภูมิภาคไว้เพียง ๒ ระดับ คือจังหวัดและอำเภอ แล้วได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘ อีกว่า "การปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่"
          กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ในปัจจุบันจัดการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรองลงมาจากอำเภอ ได้แก่ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงจัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคด้วย
          จังหวัด    มี    ๗๕      จังหวัด
          อำเภอ      มี    ๗๒๙     อำเภอ
          กิ่งอำเภอ  มี    ๘๑        กิ่งอำเภอ
          ตำบล       มี    ,๑๕๙  ตำบล
          หมู่บ้าน    มี   ๖๕,๑๗๐ หมู่บ้าน
          (ข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗)

          ๓. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจ คือส่วนกลางได้โอนมอบอำนาจระดับหนึ่งไปให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน กิจกรรมที่ท้องถิ่นทำได้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการพัฒนา และที่ว่า "ปกครองตนเองอย่างอิสระ" นั้น หมายถึงมีอิสระในการตัดสินใจต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาหรือการเสริมสร้างสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น เช่น ออกข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาบังคับประชาชนในเขตการปกครองของตนได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
          การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีรูปแบบดังนี้
          ๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อย่าสับสนกับจังหวัด)
          ๒. เทศบาล
          ๓. สุขาภิบาล
          ๔. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

                    ๔.๑ กรุงเทพมหานคร ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร บัญญัติไว้ในมาตรา ๖ ว่า "ให้กรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น...ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงไม่ใช้ "จังหวัด" ในความหมายของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
                    ๔.๒ เมืองพัทยา ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารเมืองพัทยา บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ว่า "...ให้เมืองพัทยาเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น..." ดังนั้นเมืองพัทยาจึงมิใช่เทศบาล มิใช่สุขาภิบาล แต่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
                    ๔.๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ใหม่) ได้กำหนดให้สภาตำบลที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท โดยไม่รวมเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ติดต่อกัน ๓ ปี ให้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
          ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามที่กฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด อย่างสับสนกับ "ตำบล" ที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
          ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันที่เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดมี ๗๕ เทศบาล ๑๓๘ สุขาภิบาล ๑,๐๗๕ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา อย่างละ ๑ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่จัดตั้ง
ผู้เขียน : นายวิรัช  ถิรพันธุ์เมธี หัวหน้าภาควิชางานในหน้าที่ของปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง และกรรมการทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน  ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๒, ฤศจิกายน ๒๕๓๗

รัฐสภาไทย


รัฐสภาไทย
Parliament.jpg




รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์พระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมาย สำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภาจะประกอบด้วยสภาเดียว หรือสองสภา ย่อมแล้วแต่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง
ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475หลัง การประกาศใช้รัฐธรรมนูญชัวคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้ เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
§                   หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
§                   หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
§                   หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
ประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้
1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9. นายทวี บุญยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551
อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วยโรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ มีกำหนดวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [1][2]