วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานพิเศษ 2 องค์กรมรดกโลก

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
          มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศโดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตา

มรดกโลก มรดกไทย


1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
3.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
5.ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ

เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ประเด็นไทยถอนตัวจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดกโลก


ภายหลังคณะผู้แทนไทยในการประชุมกรรมการมรดกโลก ประกาศถอนตัวจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดโลก หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ยืนยันว่า การตัดสินใจครั้งนี้ จะทำให้ไทยสามารถปกป้องอำนาจอธิปไตยบริเวณพื้นที่พิพาทเขาพระวิหาร
คิดว่าคงมีคนไทยมากมายหลายล้านคนที่ดูข่าวเรื่องการประชุมภาคีมรดกโลกที่ฝรั่งเศส ในวันที่ 26 มิ.ย. 54 และทางรัฐบาลไทยโดยนายสุวิทย์  คุณกิตติ ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมดังกล่าวและหลังจากนั้นล่าสุดได้ออกมาเปิดเผยว่าได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคีฯ ทำให้มีคำถามมากมายว่างานนี้ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด ข้อเท็จจริงของที่มาที่ไปของเรื่องนี้มันเป็นยังไง ? ประเด็นเรื่องราวที่กำกวมซ้อนทับ ลับ ลวง พราง เช่นนี้ได้มีข้อเขียนของแม่ลูกจันทร์ ที่อ่านแล้วพอเข้าใจจึงขอหยิบยกมาให้อ่านเพราะมีที่มาที่ไปดังนี้ครับ
ปัญหา พิพาทเขตแดน เขมร-ไทย กลายเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เมื่อรัฐบาลกัมพูชาของนายกฯฮุน เซน ยื่นเรื่องร้องเรียนไปถึงยูเอ็นว่าถูกประเทศไทยบุกรุ กคุกคามอธิปไตยล่าสุด คณะมนตรีความมั่นคงซึ่งมี 5 ชาติพี่เบิ้ม อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน เป็นหัวขบวน ก็เตรียมประชุมฉุกเฉินเพื่อสอบสวนเรื่องนี้โดยเร็ว!! นี่คือลีลาการทูตของกัมพูชาที่ต้องการ ดึงองค์กรระหว่างประเทศให้เข้ามาช่วยกดดันประเทศไทยสร้างภาพให้กัมพูชาเป็นฝ่ายถูกข่มเหงรังแกป้ายขี้ให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ร้ายในเวทีโลกไปเต็มๆ !!
แค่นี้ยังไม่พอ ยังเตรียมยื่นฟ้องศาล โลกให้ตัดสินปัญหาเขตพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหา ร 4.6 ตร.กม. ว่าอยู่ในเขต แดนกัมพูชา? หรือเป็นดินแดนของไทย?โดยใช้คำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 ที่ตัดสินให้เขมรชนะคดีปราสาทพระวิหารเป็นหลักฐานสำค ัญแสบริดสีดวงทวารมั้ยล่ะพวกเรา??
ถามว่า ไทยมีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ ต่อศาลโลกว่าพื้นที่รอบเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม.อยู่ในเขตแดนของไทย??
หลักฐานสำคัญก็คือ แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ นพดล ปัทมะอดีต รมว. ต่างประเทศ ไปลงนามที่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้มีข้อความระบุชัดเจนว่า กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก 
เฉพาะตัวปราสาทอย่างเดียว โดยไม่ ล่วงล้ำดินแดนไทยและไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายยัง ไม่ได้จัดทำหลักเขตแดนอย่างเป็นทางการ
นี่คือหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่าพื้นที่รอบปราสาทพระว ิหาร ไม่ได้เป็นของเขมรแน่นอน!!เพราะถ้าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. อยู่ใน เขตกัมพูชาจริง กัมพูชาคงไม่ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะแค่ตัวปราสาทอ ย่างเดียวแต่ต้องรวมพื้นที่รอบตัวปราสาททั้งกระบิขึ้นเป็นมรดก โลกพร้อมกัน!!
น่าเสียดาย ที่แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับนี้ ต้องเป็น โมฆะไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
ก็เท่ากับไทยสูญเสียหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะใช้สู้คดีและถ้าหากประวัติศาสตร์ซํ้ารอย ไทยต้องเสียดินแดนแถมให้เขมรอีก 4.6 ตร.กม.ฟรีๆจะเจ็บปวดแค่ไหนโปรดใช้สะดือตรอง??  ความจริง
ปัญหาเขาพระวิหารอาจไม่ บานปลาย ถ้าไม่ถูกเอาไปขยายผลเป็นประเด็นการเมืองแต่เมื่อประเด็นปราสาทพระวิหารกลาย เป็นปัญหาระดับอินเตอร์ ไทยกับกัมพูชาในฐานะคู่กรณีก็ต้องสู้กันยิบตา
ล่าสุด กัมพูชาพลิกลิ้นไม่ยอมรับว่าบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม. เป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทยโกหกหน้าด้านๆ ว่าพื้นที่ตรงนี้ เป็นของเขมรฝ่ายเดียว!!แม่ลูกจันทร์เป็นห่วงว่าเมื่อต้องสู้กันเรื่องเขตแดนทีไร ไทยมักเสียเหลี่ยมเขมรทุกทีเพราะเขมรอ้างแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม แต่ไทยอ้างแผนที่แอล 7017 ของ อเมริกาในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ฉบับล่าสุด พ.ศ. 2543 ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ได้ระบุว่าการจัดทำหลักเขตแดนให้ยึดตามแผนที่ฝรั่งเศ ส-สยาม (คศ.1904) เป็นแนวทางแต่ไม่ได้ระบุแผนที่แอล 7017 ของอเมริกาที่ไทยใช้อ้างอิง!!ก็เท่ากับเราไปยอมรับแผนที่ฝรั่งเศสของเขมรฝ่ายเดียวถ้าเป็นอย่างนี้ ไทยก็เสียเปรียบเขมรตามเคย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น